สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University
วันที่ 17 มิถุนายน 2567 (ช่วงบ่าย) รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย และคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ได้ไปเยือนกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน เพื่อหารือในการสานต่อกิจกรรมตามความร่วมมือทางวิชาการ และติดตามประเมินผลโครงการฝึกอบรมระยะสั้นให้กับข้าราชการของกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ทั้งนี้ ได้เยี่ยมชมฟาร์มเกษตรและปศุสัตว์ของกระทรวงด้วย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการ (MOU) และสานต่อกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ ด้านทุนการศึกษา โครงการจัดฝึกอบรมพัฒนาวิชาชีพระยะสั้น รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของทั้งสองหน่วยงานมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มต้นด้วยการได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปเพื่อสนับสนุนภาค RNR (EUTCP) ระหว่างปี 2559 ถึง ปี 2563 โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดการฝึกอบรมพัฒนาวิชาชีพระยะสั้น 117 โครงการ ให้แก่บุคลากรของกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ จำนวน 624 ราย และทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ในหลักสูตรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 7 ราย
***********************************
On the afternoon of June 17, 2024, Associate Professor Dr. Weerapon Thongma, President of Maejo University, along with distinguished members of the University Council, the University Affairs Board, and the Dean of the International College, visited the Ministry of Agriculture and Livestock in the Kingdom of Bhutan. The visit aimed to discuss the continuation of activities under academic collaboration and to follow up and evaluate the short-term training programs for officials of the Ministry of Agriculture and Livestock. Additionally, they visited the ministry's agricultural and livestock farms.
Maejo University and the Ministry of Agriculture and Livestock of the Kingdom of Bhutan have signed a Memorandum of Understanding (MOU) for academic collaboration. This partnership includes scholarship programs, short-term professional development training projects for Bhutanese personnel, and the development of cooperation in exchanging knowledge and human resources for the benefit of both entities. This collaboration began with funding support from the European Union to support the RNR sector (EUTCP) from 2016 to 2020, providing short-term training for 624 officials of the Ministry of Agriculture and Livestock of Bhutan and seven master's degree scholarships in various programs at Maejo University.
ปรับปรุงข้อมูล : 20/6/2567 14:12:34     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 30

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.แม่โจ้ จัด ประชุมวิชาการนานาชาติ i-RESEAT2024 ด้านพลังงานหมุนเวียน สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านพลังงานหมุนเวียน สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 (The 6th International Conference on Renewable Energy, Sustainable Environmental and Agricultural and Artificial Intelligence Technologies: i-RESEAT 2024) พร้อมทั้งให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การปูทางสู่อนาคตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์: มหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมสีเขียวในระดับอุดมศึกษาด้วยพื้นฐานเกษตรกรรม” (Paving the way to a net-zero future: Green university and environment in agriculture higher education) ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่การประชุมวิชาการนานาชาติ i-RESEAT 2024 วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพหลักจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2567 โดยมีเจ้าภาพร่วมหลากหลายมหาวิทยาลัยจากหลายประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ประเทศไทย), Kaohsiung Medical University (ไต้หวัน), University of Stavanger (นอร์เวย์), Vellore Institute of Technology (อินเดีย) และมหาวิทยาลัย/สถาบันพันธมิตรอื่นๆ ซึ่งถือเป็นเวทีระดับนานาชาติสำหรับการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ และผลงงานวิจัยในขอบเขตแนวคิด ทฤษฎี การทดลอง และอุตสาหกรรมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม นวัตกรรมอาหารและการเกษตร และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการระดับนานาชาติสำหรับนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยมุ่งเน้นการนำไปสู่ “Go-Green, Go-Eco, Go-Smart Agri-Tech และ Go-BCG” ซึ่งมีผู้สนใจส่งบทความวิชาการเข้าร่วมนำเสนอในที่ประชุมมากกว่า 70 บทความ บทความวิชาการที่ถูกนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ จะได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับสูง หรือรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) ต่อไป
27 กันยายน 2567     |      16
(26.09.2567) พิธีมอบเงินสนับสนุนโครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด ระหว่าง การท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จำนวน 1,000,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคเหนือ
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบเงินสนับสนุนโครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำนวน 1,000,000 บาท โดยมี นายดรุฒ คำวิชิตธนาภา กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 63) เป็นผู้แทนมอบ และ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวน 500,000 บาท โดยมี นายวิทย์วศิน เรียนวัฒนา ผู้อำนวยการใหญ่(บริการเดินอากาศส่วนภูมิภาค) เป็นผู้แทนมอบ ณ ห้องประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “จากเหตุการณ์เกิดอุทกภัยในภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเชียงรายลงมา รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบของเหตุการณ์นี้ จึงควรมีกระบวนการฟื้นฟูหลังน้ำลด โดยการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในทุก ๆ พื้นที่อย่างเข้าถึงและเข้าใจ อันจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนลงได้ จึงได้จัดทำโครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกัน ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ โดยได้รับความร่วมมือ จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท วิทยุการแห่งประเทศไทย จำกัด โดยเราจะจัดหาเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว ที่ปลูกง่ายใช้ช่วงเวลาสั้น ซึ่งมีทั้งเมล็ดพันธุ์ผักมาจากผลผลิตทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตลอดจนความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของศิษย์เก่า และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เตรียมแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ เมล็ดพันธุ์ผักเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในชีวิตประจำวัน รวมถึงการก่อให้เกิดรายได้อย่างรวดเร็ว ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมสนับสนุนในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างสูง”สำหรับการเตรียมแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ไปยังพื้นที่ประสบภัยหลังน้ำลด จะเริ่มแจกจ่ายในเฟสแรกประมาณเดือนตุลาคม 2567 โดยเริ่มจากพื้นที่ผู้ประสบภัยในจังหวัดเชียงราย โดยมีทีมงานของสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมกับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สำรวจผู้ได้รับผลกระทบและส่งมอบเมล็ดพันธุ์ให้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้เพาะปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิต มีอาหาร มีรายได้ เพื่อดำรงชีวิตต่อไป
27 กันยายน 2567     |      11
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุม 37th UC Executive Board Meeting ณ University of the Philippines Los Banos สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ UC Chief Executive Officer พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ และตำแหน่ง UC Executive Officer และ อาจารย์ ดร.วินิตรา ลีละพัฒนา รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ และ UC coordinator เข้าร่วมการประชุม 37th UC Executive Board Meeting ณ University of the Philippines Los Baños สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยในการประชุมครั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รายงานผลการดำเนินงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ UC พร้อมกับโครงการความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิเช่น Postgraduate Micro Credentials in Food Security and Climate Change (PMC FSCC) เป็นต้น
23 กันยายน 2567     |      20