สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University

วันนี้ (19 มี.ค. 67) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ องค์การวินร็อค อินเตอร์เนชั่นแนล (Winrock International) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ USDA Thailand Regional Agriculture Innovation Network (RAIN)  ซึ่งเป็นเครือข่ายผลักดันนวัตกรรมด้านการเกษตรในระดับภูมิภาคที่ได้รับการสนับสนุนการเงินจากโครงการ Food for Progress ภายใต้การบริหารของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) มุ่งสร้างความร่วมมือตรวจสอบนวัตกรรมการเกษตรที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา และขยายผลส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ในวงกว้าง เพื่อรับมือกับผลกระทบที่มาจากวิกฤตสภาพอากาศ

.

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้กล่าวต้อนรับและผู้มาร่วมงาน และคุณลิสา เอ.บูเจนนาส กงสุลใหญ่อเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดีต่อการลงนามบันทึกข้อตกลง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์  สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคุณ วิลเลี่ยม สปาร์คส์ ผู้อำนวยการโครงการ RAIN เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย  ณ ห้องประชุมสภา  ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

.

สำหรับการลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันของทั้งสองหน่วยงานในการตรวจสอบนวัตกรรมภาคเกษตรกรรมที่ช่วยให้รับมือกับผลกระทบวิกฤตสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางของการสร้างความยั่งยืน และการขยายตลาด ตลอดจนขยายผลสนับสนุนให้เกษตรกรไทยใช้นวัตกรรมดังกล่าวในวงกว้าง  โดย RAIN จะใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เช่น การใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตลำไย ฟาร์มต้นแบบสวนลำไยอินทรีย์อัจฉริยะ การจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด และการจัดการระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ  ร่วมกันพัฒนาต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อเครือข่ายนวัตกรรมด้านการเกษตรทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

.

ตัวอย่างความร่วมมือที่เป็นไปได้ระหว่างสองหน่วยงานภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ได้แก่ การสนับสนุนเกษตรกรให้นำแนวทางปฏิบัติด้านการผลิตแบบออร์แกนิกมาใช้ ผ่านระบบการรับประกันแบบมีส่วนร่วม (PGS) ระบบการรับรองอินทรีย์ เช่น ออร์แกนิกประเทศไทย, USDA ออร์แกนิก และอื่น ๆ  รวมถึงทบทวนวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่อยู่ในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในภาคเหนือ และทั่วประเทศ นอกจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การสนับสนุน และผู้เชี่ยวชาญในการร่วมตรวจสอบนวัตกรรมและสนับสนุนการขยายผลในวงกว้าง ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค

.

โดยความร่วมมือระหว่าง ม.แม่โจ้และ RAIN จะช่วยยกระดับการเกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการเกษตรที่ยั่งยืน อาหาร อาชีพ และภูมิปัญญา ด้วยการยกระดับองค์ความรู้ทางด้านเกษตรอินทรีย์ และทำให้เกษตรกรนำนวัตกรรมไปใช้งานได้จริงในวงกว้างอีกทั้งยกระดับเกษตรกรให้เป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ภาคเหนือ และสร้างเยาวชนเกษตรอินทรียเพื่อสนับสนุนให้พวกเขาอยู่กับชุมชนของตัวเอง

ปรับปรุงข้อมูล : 19/3/2567 15:15:16     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 447

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

การประชุมรรหาคณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1/2568
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2568 คณะกรรมการสรรหาคณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ร้อยตรี ดร.วิจิตร อยู่สุภาพ ประธานกรรมการ, รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี รองประธานกรรมการ, รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยคณะกรรมการสรรหาคณบดีฯ ได้ดำเนินการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับและวิธีสรรหา และร่วมรับฟังข้อคิดเห็นของบุคลากรคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3 กรกฎาคม 2568     |      20
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน
วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2568 ที่ โรงแรมแชงกรี – ลา เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-จีน ซึ่งสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ได้จัดขึ้นเพื่อย้อนรำลึกถึงประวัติศาสตร์มิตรภาพอันยาวนาน และแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในด้านต่างๆ เพื่อสานต่อความร่วมมือระหว่างสองประเทศในอนาคต โดยมี นาย เฉิน ไห่ผิง กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ให้การต้อนรับโอกาสนี้ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขึ้นกล่าวภายในงานครั้งนี้ว่า ชาวจังหวัดเชียงใหม่ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยไทยและจีนมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและยั่งยืนมาตั้งแต่โบราณ และไม่ได้ได้จำกัดอยู่เพียงในระดับการทูต แต่ยังมีสายสัมพันธ์ในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสายใยผูกพันระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศตลอดระยะเวลา 50 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูต ความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนได้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชน นับเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความใกล้ชิดและมิตรภาพอันลึกซึ้งระหว่างสองชาติ สะท้อนผ่านถ้อยคำที่ว่า “ไทย–จีน มิใช่อื่นไกล คือ พี่น้องกัน”
2 กรกฎาคม 2568     |      19
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี) กับ บริษัท ลักษณ์ธนากุล จำกัด บริษัท เชียงใหม่ธนากุล จำกัด และ บริษัท ซัคเซสมิลค์ จำกัด
วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้/รักษาการแทนคณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์ รองคณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร และคณาจารย์ประจำคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี) กับ บริษัท ลักษณ์ธนากุล จำกัด บริษัท เชียงใหม่ธนากุล จำกัด และ บริษัท ซัคเซสมิลค์ จำกัด โดยมี นางสาวสุธี ลักษณ์ธนากุล กรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ, นางสาวจามรี รินทา ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และนางสาวณัฏฐ์ลิตา ติง หัวหน้าแผนกเลขานุการตรวจสอบ เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจทั้ง 3 บริษัท ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์ในการร่วมมือในด้านวิชาการเชิงบูรณาการระหว่างการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริง และส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาได้พัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง พร้อมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรภาคเอกชน
1 กรกฎาคม 2568     |      25