สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี นางอรณุตรา จ่ากุญชร ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา หัวหน้างานสังกัดกองพัฒนานักศึกษา และบุคลากรงานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา กองพัฒนานักศึกษา ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษาได้ให้การต้อนรับและกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนทุนการศึกษา ที่ได้มามอบทุนการศึกษาแก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนี้
1. ทุนการศึกษา "ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาแม่โจ้" จำนวน 100,000 บาท โดยมี คุณมนต์ชัย ทองทัศน์ ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารสำนักงานภาค สำนักงานภาคเชียงใหม่ พร้อมด้วยคุณทวีวัฒน์ สว่าง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารสำนักเขตเชียงใหม่ 2 คุณวิลาวัณย์ แสนใจบาล ผู้จัดการอาววุโส สาขาแม่โจ้ และคณะ เป็นผู้มอบทุนการศึกษา
2. ทุนการศึกษา "ดร.อุทัย วาสนาพันธ์พงศ์" ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 24 จำนวน 5,000 บาท โดยมี ดร.อุทัย วาสนาพันธ์พงศ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 24 เป็นผู้มอบทุนการศึกษา
3. ทุนการศึกษา "ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 30 และเทคนิคเกษตร 6" จำนวน 10,000 บาท โดยมีคุณวรพจน์ พรหมสุนทร ประธานชมรมศิษย์เก่าแม๋โจ้ รุ่น 30 และเทคนิคเกษตร 6 พร้อมด้วยคุณบุญเลิศ ทรายข้าว และคุณอนันต์ ปัญญากาศ เป็นผู้มอบทุนการศึกษา
ซึ่งเป็นการมอบเงินสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อนำมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา มีจิตอาสา และมีความประพฤติเรียบร้อย ในปีการศึกษา 2567
ณ ห้องอินทนิล ชั้น 2 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปรับปรุงข้อมูล : 9/9/2567 14:29:12     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 176

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ชู ม.แม่โจ้ ปั้นนักศึกษาสู่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ พร้อมดึงงานวิจัย-นวัตกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนา อววน. สำนักงานปลัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และ รศ.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ ผศ.ไชยยันต์ ชนะพรมมา คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมี รศ.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรม เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และมีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง และได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) ประกอบกับจุดเด่นในด้านเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการและหน่วยงานทุกภาคส่วน มาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุนนักศึกษาที่สนใจเป็นผู้ประกอบการให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนใจมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสามารถสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความพร้อมและประสบการณ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้นโยบายสู่การเป็น Entrepreneurial University ผ่านกลไกระบบนิเวศในการสนับสนุนผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย และจากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขยายผลสู่การสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ MJU Agri smart startup Academy จะเป็นการเสริมสร้างและผลักดันให้มหาวิทยาลัยเกิดผู้ประกอบการใหม่จากฐานนักศึกษา ภายใต้ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยที่มีการเชื่อมโยงและผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการและการจัดโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบศ.ศันสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วางรากฐานกลไกและระบบเพื่อผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสร้างผู้ประกอบการใหม่ อีกทั้ง สร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต จะเห็นว่า จากการดำเนินการดังกล่าว ในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 13 ผลงาน ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย และกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในวงกว้าง นอกจากนี้ อีกหนึ่งความสำเร็จที่โดดเด่น คือ การผลักดันการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิพันธุ์พืช จำนวน 3 คำขอในสหรัฐอเมริกา ต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) จากผลงานการพัฒนาพันธุ์ดอกปทุมมา และการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างปทุมมาและกระเจียวพลอยไพลิน ได้แก่ แม่โจ้กรีนเพิร์ล แม่โจ้ไวท์เพิร์ล และแม่โจ้พิงค์เพิร์ล และได้ร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาไม้ประดับ เพื่อวางแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป“คณะกรรมการฯ เห็นว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ ควรต้องบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ โดยเสริมเข้าไปในหลักสูตรรายวิชาทั่วไป (GenED) รวมถึงควรมีระบบการประเมินและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของผู้สอนและนักศึกษา เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ และสุดท้ายควรเชื่อมโยงหลักสูตรเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสะสมหน่วยกิตและผลการศึกษา ตามนโยบายกระทรวง อว. รวมถึง ควรประเมินความคุ้มค่า ผลกระทบ และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3 เมษายน 2568     |      14
02/04/2568 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี
ในวันพุธที่ 2 เมษายน 2568 รองศาสตาจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน พร้อมด้วย รองศาสตาจารย์ ดร.วีระพล ทองมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้   ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ในงานเฉลิมฉลอง 20ปี คณะศิลปศาสตร์ “ศาสตร์และศิลป์ แห่งปัญญา” ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ซึ่งในช่วงเช้าได้จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 21 รูป และพิธีทางศาสนา โดยคณะฯ ได้เรียนเชิญคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกคณะฯ เข้าร่วม พร้อมทั้งได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาบรรยายพิเศษในเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์” และในช่วงถัดมาได้เข้าร่วมเปิดนิทรรศการองค์ความรู้ “20 ปี ศาสตร์และศิลป์ แห่งปัญญา“ เพื่อเชิญชูเกียรติ อาจารย์ดีเด่น คณะศิลปศาสตร์
3 เมษายน 2568     |      26
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ผู้บริหารแผนงานวิจัยด้วยเครื่องมือการจัดแบบผสมผสาน"
วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "ผู้บริหารแผนงานวิจัยด้วยเครื่องมือการจัดแบบผสมผสาน" โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารแผนงานวิจัยและผู้บริหารหน่วยงานระดับคณะ สามารถมอบเห็นเป้าหมายและรู้บทบาทของการวิจัยและบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยและนโยบายของประเทศ และสามารถสร้างแผนการวิจัยและบริการวิชาการที่ครอบคลุมการทำงานแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ ให้มีความโดดเด่นและตอบโจทย์วิจัยและบริการวิชาการตามความต้องการของมหาวิทยาลัยและนโยบายของประเทศ ส่งผลให้ได้รับทุนวิจัยและบริการวิชาการเพิ่มขึ้น ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม การอบรมกรอบนโยบายและทิศทางการวิจัยของประเทศ โดย ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการปรับปรุงพันธุ์และโอมิกส์ทางสัตว์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การอบรม "แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม (2568-2572) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป้าหมาย และตัวชี้วัดสำคัญ โดย ผู้ช่วยศาสตาจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนอธิการบดี และการ Workshop ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
1 เมษายน 2568     |      10