สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน MJU Thank you Press Party 2024 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยพบปะและขอบคุณสื่อมวลชน ประจำปี 2567 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ชาวแม่โจ้ - พี่น้องสื่อมวลชน โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมงานคับคั่ง ณ โรงแรม The Raintree Hotel Chiang Mai
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีอายุครบ 90 ปี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีคณะที่ทำการเรียนการสอนรวม 18 คณะ รวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่เฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่ได้รับการจัดตั้งล่าสุด พร้อมด้วยส่วนงานสนับสนุน 4 สำนัก ซึ่งผู้บริหารทุกท่านเกือบทั้งหมดที่ไม่ได้ติดภารกิจก็ได้มาร่วมพบปะและขอบคุณสื่อมวลชนในครั้งนี้ด้วย
.
การจัดกิจกรรมมหาวิทยาลัยแม่โจ้พบปะและขอบคุณสื่อมวลชน (MJU Thank You Press Party 2024) เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้มีส่วนในการเผยแพร่ข่าวสารกิจกรรม งานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นผลประโยชน์แก่ภาคประชาสังคมให้สามารถนำไปต่อยอด
.
ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกแขนงที่ให้การอนุเคราะห์มหาวิทยาลัยแม่โจ้มาโดยตลอด ขอบคุณเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยดี ขอให้ทุกท่านคิดถึงแม่โจ้ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยของประชาชน มหาวิทยาลัยของชาวเชียงใหม่ที่มุ่งสร้างประโยชน์เพื่อสังคมร่วมกับทุกท่านต่อไป”
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องในปีพุทธศักราช 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ด้วยแนวคิด ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ซึ่งจะมีโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในสังกัดทั่วประเทศเข้าร่วม ในวันนี้จึงได้นำผลงานส่วนหนึ่งของโครงการมานำเสนอให้แก่คณะสื่อมวลชนได้รับทราบและเตรียมเผยแพร่ข่าวกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป
.
บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างอบอุ่น สนุกสนาน ประทับใจ มีกิจกรรมนันทนาการสานสัมพันธ์พี่น้องสื่อมวลชนและคณะผู้บริหาร พร้อมมอบของขวัญพิเศษแทนคำขอบคุณ ร่วมกระชับความสัมพันธ์อันดีของพี่น้องชาวสื่อฯ กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปรับปรุงข้อมูล : 21/9/2567 20:20:50     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 175

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้บันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2568
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) จังหวัดเชียงใหม่
20 พฤษภาคม 2568     |      32
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในที่ประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (ตามระเบียบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย พ.ศ.2565 ข้อ10 ) ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
18 พฤษภาคม 2568     |      21
TikTok จับมือ มหาวิทยาัลยแม่โจ้ ดึง 5 มหาวิทยาลัยเครือข่ายทุกภูมิภาค พัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล”สร้าง Smart People
วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้ประสานงานหลัก จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง TikTok Technologies Ltd. กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีก 5 สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายครอบคลุมทุกภูมิภาค ในการร่วมมือพัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “Smart Citizenship & Digital Resilience” ติดอาวุธทางปัญญาให้เยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล และสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยมี รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา, รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. เป็นผู้แทนลงนามของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ TikTok ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 โดยได้ร่วมผลิตเนื้อหาเชิงรณรงค์ผ่านแฮชแท็ก เช่น #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด #พื้นที่ปลอดภัยเพื่อทุกการสร้างสรรค์ และล่าสุด #คนไทยรู้ทัน ที่มีผู้เข้าชมกว่า 3.4 พันล้านวิว โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันข่าวลวงและภัยออนไลน์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และในปีนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายผลความร่วมมือเข้าสู่การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวิชา “พลเมืองดิจิทัล” ซึ่งกำหนดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี ดังนั้น นักศึกษาในทุกศาสตร์ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ และในปีนี้มหาวิทยาลัยได้ประสานเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัยมาร่วมมือพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชมงคล ร่วมกับ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน โดยเฉพาะ TikTok ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนี้ ” คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. กล่าวว่า “เราภูมิใจมากที่ได้ร่วมมือกับ 6 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศครอบคลุมทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ นอกจากนั้น TikTok ยังมีแนวทางในการ upskill และ reskill ให้ครอบคลุมประชากรในทุกกลุ่มวัย ทุกภูมิภาค สำหรับ TikTok แล้วการสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย คือภารกิจระยะยาว ที่เราทำด้วยความตั้งใจจริง เราเชื่อว่า สังคมที่ปลอดภัย เท่าทัน และสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนเข้าถึงความรู้” นอกจากนี้ รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในปัจจุบัน ต้องเตรียมความพร้อมและส่งเสริมหรือพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่จำเป็นในอนาคต ดังนั้นความร่วมมือในวันนี้เป็นหนึ่งในหัวใจของการเตรียมบัณฑิตไทยให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ทาง ทปอ. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทุกกลุ่มกับภาคเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับทักษะของผู้เรียน” สำหรับการลงนามในครั้งนี้ มีระยะเวลา 3 ปี โดยวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” จะเปิดการเรียนการสอนพร้อมกัน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป
7 พฤษภาคม 2568     |      783