สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา จ.เชียงใหม่

การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net Zero เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่

  • เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero” , ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย
    รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เรื่อง “Climate Change วิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่ Net Zero โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดย นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  • การเสวนา เรื่อง “บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย” โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนา

นอกจากนั้น จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fishery พร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง) ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น

ดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็น Net Zero ในปี 2065 ได้”

การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป

ปรับปรุงข้อมูล : 22/10/2567 9:28:17     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 269

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้บันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2568
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) จังหวัดเชียงใหม่
20 พฤษภาคม 2568     |      31
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในที่ประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (ตามระเบียบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย พ.ศ.2565 ข้อ10 ) ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
18 พฤษภาคม 2568     |      21
TikTok จับมือ มหาวิทยาัลยแม่โจ้ ดึง 5 มหาวิทยาลัยเครือข่ายทุกภูมิภาค พัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล”สร้าง Smart People
วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้ประสานงานหลัก จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง TikTok Technologies Ltd. กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีก 5 สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายครอบคลุมทุกภูมิภาค ในการร่วมมือพัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “Smart Citizenship & Digital Resilience” ติดอาวุธทางปัญญาให้เยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล และสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยมี รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา, รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. เป็นผู้แทนลงนามของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ TikTok ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 โดยได้ร่วมผลิตเนื้อหาเชิงรณรงค์ผ่านแฮชแท็ก เช่น #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด #พื้นที่ปลอดภัยเพื่อทุกการสร้างสรรค์ และล่าสุด #คนไทยรู้ทัน ที่มีผู้เข้าชมกว่า 3.4 พันล้านวิว โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันข่าวลวงและภัยออนไลน์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และในปีนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายผลความร่วมมือเข้าสู่การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวิชา “พลเมืองดิจิทัล” ซึ่งกำหนดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี ดังนั้น นักศึกษาในทุกศาสตร์ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ และในปีนี้มหาวิทยาลัยได้ประสานเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัยมาร่วมมือพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชมงคล ร่วมกับ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน โดยเฉพาะ TikTok ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนี้ ” คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. กล่าวว่า “เราภูมิใจมากที่ได้ร่วมมือกับ 6 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศครอบคลุมทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ นอกจากนั้น TikTok ยังมีแนวทางในการ upskill และ reskill ให้ครอบคลุมประชากรในทุกกลุ่มวัย ทุกภูมิภาค สำหรับ TikTok แล้วการสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย คือภารกิจระยะยาว ที่เราทำด้วยความตั้งใจจริง เราเชื่อว่า สังคมที่ปลอดภัย เท่าทัน และสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนเข้าถึงความรู้” นอกจากนี้ รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในปัจจุบัน ต้องเตรียมความพร้อมและส่งเสริมหรือพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่จำเป็นในอนาคต ดังนั้นความร่วมมือในวันนี้เป็นหนึ่งในหัวใจของการเตรียมบัณฑิตไทยให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ทาง ทปอ. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทุกกลุ่มกับภาคเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับทักษะของผู้เรียน” สำหรับการลงนามในครั้งนี้ มีระยะเวลา 3 ปี โดยวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” จะเปิดการเรียนการสอนพร้อมกัน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป
7 พฤษภาคม 2568     |      783