สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University

วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้   ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้แต่ละรุ่น และนักศึกษา ร่วมรำลึกอธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่  ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่  และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้   เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัย

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็น “ครู” ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่าง  เป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไป  จึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า  การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้าย  ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญา “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน

ปรับปรุงข้อมูล : 30/10/2567 13:51:57     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 77

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้บันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2568
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) จังหวัดเชียงใหม่
20 พฤษภาคม 2568     |      31
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในที่ประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (ตามระเบียบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย พ.ศ.2565 ข้อ10 ) ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
18 พฤษภาคม 2568     |      21
TikTok จับมือ มหาวิทยาัลยแม่โจ้ ดึง 5 มหาวิทยาลัยเครือข่ายทุกภูมิภาค พัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล”สร้าง Smart People
วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้ประสานงานหลัก จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง TikTok Technologies Ltd. กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีก 5 สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายครอบคลุมทุกภูมิภาค ในการร่วมมือพัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “Smart Citizenship & Digital Resilience” ติดอาวุธทางปัญญาให้เยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล และสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยมี รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา, รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. เป็นผู้แทนลงนามของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ TikTok ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 โดยได้ร่วมผลิตเนื้อหาเชิงรณรงค์ผ่านแฮชแท็ก เช่น #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด #พื้นที่ปลอดภัยเพื่อทุกการสร้างสรรค์ และล่าสุด #คนไทยรู้ทัน ที่มีผู้เข้าชมกว่า 3.4 พันล้านวิว โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันข่าวลวงและภัยออนไลน์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และในปีนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายผลความร่วมมือเข้าสู่การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวิชา “พลเมืองดิจิทัล” ซึ่งกำหนดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี ดังนั้น นักศึกษาในทุกศาสตร์ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ และในปีนี้มหาวิทยาลัยได้ประสานเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัยมาร่วมมือพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชมงคล ร่วมกับ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน โดยเฉพาะ TikTok ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนี้ ” คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. กล่าวว่า “เราภูมิใจมากที่ได้ร่วมมือกับ 6 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศครอบคลุมทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ นอกจากนั้น TikTok ยังมีแนวทางในการ upskill และ reskill ให้ครอบคลุมประชากรในทุกกลุ่มวัย ทุกภูมิภาค สำหรับ TikTok แล้วการสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย คือภารกิจระยะยาว ที่เราทำด้วยความตั้งใจจริง เราเชื่อว่า สังคมที่ปลอดภัย เท่าทัน และสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนเข้าถึงความรู้” นอกจากนี้ รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในปัจจุบัน ต้องเตรียมความพร้อมและส่งเสริมหรือพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่จำเป็นในอนาคต ดังนั้นความร่วมมือในวันนี้เป็นหนึ่งในหัวใจของการเตรียมบัณฑิตไทยให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ทาง ทปอ. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทุกกลุ่มกับภาคเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับทักษะของผู้เรียน” สำหรับการลงนามในครั้งนี้ มีระยะเวลา 3 ปี โดยวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” จะเปิดการเรียนการสอนพร้อมกัน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป
7 พฤษภาคม 2568     |      783