สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University

     วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567  เวลา 18.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จเป็นองค์ประธาน ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

.

     พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานถวายผ้าพระกฐินแด่พระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ประจำปี 2567 ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา และสมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ โรงครัว ค่าน้ำ ค่าไฟ และบำรุงวัด โดยมี นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้แทนศาล ทหาร ตำรวจ เหล่ากาชาดจังหวัดฯ ส่วนราชการ และประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ
.
     โอกาสนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงประทานตราตั้งให้แก่คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาวัด คณะที่ปรึกษาวัด และไวยาวัจกร (เพิ่มเติม) จำนวน 6 ราย พร้อมทั้งทรงประทานของที่ระลึกให้แก่ผู้มีกุศลจิตบริจาคทรัพย์ และสนับสนุนการดำเนินงานของวัด
.
     จากนั้นได้ทรงทอดพระเนตรการแสดงในชุด “พญาอุชุนาคราชบูชา ปกปักรักษานครพิงค์เชียงใหม่“ ซึ่งนำแสดงโดยคณะอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่สื่อถึงการถวายความเคารพและบูชาแด่พญานาคผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้พิทักษ์เมือง และผู้คุ้มครองคนในนครพิงค์เชียงใหม่อย่างมั่นคงมาช้านาน ผ่านการแสดงที่ผสมผสานระหว่างการร่ายรำและดนตรีไทยอย่างสง่างาม
.
     โดยพิธีการสำคัญครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่จะได้ร่วมสร้างกุศล เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความศรัทธาต่อบวรพระพุทธศาสนา และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อช่วยกันส่งเสริมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงสถาพรสืบไป
.
     ทั้งนี้ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ในการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานศิลปกรรมท้องถิ่นแบบล้านนา โดยเมื่อครั้งที่ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพความทรุดโทรมของวัดและฝาผนังวิหาร จึงมีพระดำริที่จะบูรณะให้ดีขึ้น ด้วยการตั้งพระทัยว่า ขอนำความรู้ที่ได้ศึกษามาปฏิบัติพระกรณียกิจเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติให้รุ่งเรือง โดยทรงดำเนินงานวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “ พระมหาชนก ” และทรงสร้างพระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต เป็นพระประธานในวิหาร

ปรับปรุงข้อมูล : 14/11/2567 13:13:34     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 137

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้บันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2568
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) จังหวัดเชียงใหม่
20 พฤษภาคม 2568     |      31
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมและรายงานนโยบาย แผนปฎิบัติงาน และผลดำเนินการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในที่ประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (ตามระเบียบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย พ.ศ.2565 ข้อ10 ) ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
18 พฤษภาคม 2568     |      21
TikTok จับมือ มหาวิทยาัลยแม่โจ้ ดึง 5 มหาวิทยาลัยเครือข่ายทุกภูมิภาค พัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล”สร้าง Smart People
วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้ประสานงานหลัก จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง TikTok Technologies Ltd. กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีก 5 สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายครอบคลุมทุกภูมิภาค ในการร่วมมือพัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “Smart Citizenship & Digital Resilience” ติดอาวุธทางปัญญาให้เยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล และสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยมี รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา, รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. เป็นผู้แทนลงนามของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ TikTok ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 โดยได้ร่วมผลิตเนื้อหาเชิงรณรงค์ผ่านแฮชแท็ก เช่น #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด #พื้นที่ปลอดภัยเพื่อทุกการสร้างสรรค์ และล่าสุด #คนไทยรู้ทัน ที่มีผู้เข้าชมกว่า 3.4 พันล้านวิว โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันข่าวลวงและภัยออนไลน์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และในปีนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายผลความร่วมมือเข้าสู่การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวิชา “พลเมืองดิจิทัล” ซึ่งกำหนดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี ดังนั้น นักศึกษาในทุกศาสตร์ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ และในปีนี้มหาวิทยาลัยได้ประสานเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัยมาร่วมมือพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชมงคล ร่วมกับ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน โดยเฉพาะ TikTok ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนี้ ” คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. กล่าวว่า “เราภูมิใจมากที่ได้ร่วมมือกับ 6 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศครอบคลุมทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ นอกจากนั้น TikTok ยังมีแนวทางในการ upskill และ reskill ให้ครอบคลุมประชากรในทุกกลุ่มวัย ทุกภูมิภาค สำหรับ TikTok แล้วการสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย คือภารกิจระยะยาว ที่เราทำด้วยความตั้งใจจริง เราเชื่อว่า สังคมที่ปลอดภัย เท่าทัน และสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนเข้าถึงความรู้” นอกจากนี้ รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในปัจจุบัน ต้องเตรียมความพร้อมและส่งเสริมหรือพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่จำเป็นในอนาคต ดังนั้นความร่วมมือในวันนี้เป็นหนึ่งในหัวใจของการเตรียมบัณฑิตไทยให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ทาง ทปอ. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทุกกลุ่มกับภาคเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับทักษะของผู้เรียน” สำหรับการลงนามในครั้งนี้ มีระยะเวลา 3 ปี โดยวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” จะเปิดการเรียนการสอนพร้อมกัน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป
7 พฤษภาคม 2568     |      783