สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University

     วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2567  ที่ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น5 สำนักงานมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการมอบถ้วยรางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันทักษะเกษตร งานกีฬาประเพณี4จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39  ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  และแสดงความยินดีกับหน่วยงาน บุคลากร นักศึกษา ที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย

.

     ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำทีมนักกีฬาทักษะเกษตร จาก 3 คณะได้แก่ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร และกีฬาสากล ในงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39 “เกษตรแดนศิลป์ ถิ่นเมืองพริบพรี”
ซึ่งมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านการเกษตรจากทั่วประเทศ เข้าร่วมชิงชัย 12 สถาบัน ระหว่างวันที่ 18 - 21 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขต สารสนเทศเพชรบุรี

ผลการแข่งขัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดย สามารถกวาดมาได้ 15 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญเงินกีฬาสาธิต รวม 20 เหรียญ จาก 21 ทักษะ ดังนี้

1. การจัดสวนถาด = ทอง
2. การเชตแมลง = ทอง
3. การผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเกษตร = ทอง
4. การตอนสุกร = ทอง
5. การรีดเต้านมเทียม = ทอง
6. บรรจุพันธ์ปลา = ทอง
7. การประกวดโมเดลธุกิจนวัตกรรมการเกษตร = เงิน
8. การขยายพันธุ์พืช ติดตา-ต่อกิ่ง-ทาบกิ่ง = ทอง
9. การตรวจวัดสมบัติดินภาคสนาม และการใช้ข้อมูลดินเพื่อการจัดการดินแบบแม่นยำ = ทอง
10. การพูดส่งเสริมการเกษตร = ทอง
11. การตัดแต่งซากสัตว์ปีก = ทอง
12. การวินิจฉัยโรคพืช = เงิน
13. โครงงานทางการเกษตร = ทอง
14. การคำนวณอัตราการใช้ และพ่นสารกำจัดวัชพืช = ทอง
15. การทอดแห = ทอง
16. การตัดขวางชิ้นเนื้อเยื่อโรคพืช = เงิน (กีฬาสาธิต)
17. การกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง = ทอง
18. การเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง = ทอง
19. การวิเคราะห์อาหารสัตว์ = เงิน
20. การตอบปัญหาทางการเกษตร = เงิน

นอกจากนี้ นางสาวแสงเทียน ได้ตั้งใจนึก นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ยังได้รับรางวัล "คนดีศรีเกษตร" ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับนักศึกษาที่มีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง หลากหลายและเป็นประจักษ์ในวงกว้าง ยกย่องผู้ที่มีความประพฤติดีเด่น และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาในด้านการศึกษา คุณธรรม และความเสียสละ อีกด้วย

ทั้งนี้ งานประเพณี 4 จอบจัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านการเกษตร 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางวิชาการสาขาเกษตรศาสตร์ อันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต โดยกำหนดให้มีการจัดงานขึ้นทุกปี

อนึ่ง เมื่อครั้งที่มีการจัดงานประเพณี 4 จอบ ครั้งที่ 21 เมื่อปี 2546 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นเจ้าภาพจัดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) พระราชทานถ้วยรางวัลคะแนนรวมในการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร ถือเป็นกรุณาธิคุณแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกสถาบันเป็นล้นพ้น การแข่งขันในปีถัดจากนั้นมา สถาบันที่ได้รับรางวัลคะแนนรวมการแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร จึงได้ครองถ้วยพระราชทานสืบต่อกันมา

ปรับปรุงข้อมูล : 11/12/2567 10:52:35     ที่มา : สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 40

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการ Maejo Next Step >> IWA การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดโครงการและร่วมบรรยาย Ted Talk : ทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การพัฒนา IWA : การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน และได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจผู้เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดหัวใจ บรรยาย Ted Talk : Lifestyle Medicine เวชศาสตร์วิถีชีวิตทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ดี” Intelligence Well – being Agriculture (IWA) เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลักดันจากทุกภาคส่วนต่อไป
4 กุมภาพันธ์ 2568     |      16
มหาวิทยาลัยแม่โจ้รับรางวัลองค์กรที่ส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2567 เนื่องในงานวันคนพิการสากลจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2567
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้ารับรางวัลองค์กรที่ส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2567 เนื่องในงานวันคนพิการสากลจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2567 โดยมี นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานวันคนพิการสากลจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2568 ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทประจำจังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่ายคนพิการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "ส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการ เพื่ออนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน“ เพื่อให้คนพิการ จังหวัดเชียงใหม่ รับทราบนโยบายและมาตรการ แนวทางของรัฐในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการและส่งเสริมความเป็นธรรม เสมอภาค เท่าเทียมในทุกภาคส่วนของสังคม ส่งเสริมโอกาสคนพิการได้แสดงศักยภาพการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคมอย่างเสมอภาคกับคนทั่วไป และเพื่อเชิดชูเกียรติ ให้แก่บุคคล องค์กรหน่วยงานในการสนับสนุนงานด้านคนพิการและคนพิการที่เป็นแบบอย่างทางสังคมและเพื่อเสริมสร้างเจตคติเชิงสร้างสรรค์ของคนพิการ ครอบครัวคนพิการและสังคมที่มีต่อคนพิการและความพิการ ซึ่งจะส่งผลให้คนพิการได้รับโอกาสทางสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป โดยมี คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ ครอบครัวคนพิการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนผู้สนใจทั่วไป กว่า 1,000 คน เข้าร่วมงานสำหรับการจัดงานในวันนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา ภายในงานการแสดงมากมายให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ได้สนุกสนานร่วมกัน และแสดงความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคล อาทิ การแสดงอังกะลุง การแสดงฟ้อน การร้องเพลงประกอบดนตรี การเล่นดนตรีโฟล์คซอง พร้อมทั้งมีการเปิดเวทีเสวนา ในหัวข้อการส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการ เพื่ออนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดเชียงใหม่ มีการเล่นเกมจับรางวัล และมอบรางวัลคนพิการต้นแบบ รางวัลครอบครัวคนพิการต้นแบบ รางวัลองค์กรที่ส่งเสริมการจ้างงาน คนพิการจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2567 รางวัลองค์กรส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2567 และรางวัลพิเศษให้กับคนพิการ ซึ่งภายในงานยังมีการลงนามการจ้างงานคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย มูลนิธิโครงการหลวง, ศูนย์พัฒนากีฬา มณฑลทหารบกที่ 33, โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม, โรงพยาบาลเชียงใหม่แมคคอร์มิค และบริษัท นิ่มซี่เส็ง 1988 จำกัด พร้อมทั้งมีการมอบอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือคนพิการ จำนวน 72,000 ชุด เฉลิมพระเกียรติระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ประเภทรถเข็นนั่งวีลแชร์ (Wheelchair)” ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 10 แห่ง อีกด้วยทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ จึงได้สถาปนาให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันคนพิการสากล" เพื่อรำลึกถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2525 ที่สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติรับรองแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ (World Programme of Action concerning Disabled Persons) พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ เฉลิมฉลองวันคนพิการสากลทุกปี เพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยอยู่บนฐานของสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม และได้มาตรฐานในระดับสากล อนึ่ง ตั้งแต่ปี 2530 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อวันคนพิการในแต่ละปีด้วย เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ศักด์ศรีและความยุติธรรมเพื่อคนทั้งมวล ทุกเรื่องคนพิการต้องมีคนพิการ
31 มกราคม 2568     |      29