สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้รับโล่ Prime Minister Road Safety Awards ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย”
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับรางวัล Prime Minister Road Safety Award ประเภทบุคคล จาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย” Road Safety Stronger Together ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่มเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
20 พฤศจิกายน 2567     |      12
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมงานฉลองครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกวางสี
     วันที่ 15-17พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี (งานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัย) ได้รับมอบหมายจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศพงศ์ อวิโรธนานนท์ จากคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เข้าร่วมงาน Yongjiang Forum 2024  Exchange, Cooperation, and Innovation: Internationalization of Higher Education between China-ASEAN ในโอกาส เฉลิมฉลอง The 20th anniversary of the establishment of Guangxi University of Foreign Languages, ณเมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน     โดยได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเวทีเสวนา ในหัวข้อ “Enhancing Development of Higher Education toward Sustainability and Partnership between ASEAN and China“ ร่วมกับผู้แทนมหามหาวิทยาลัยต่างๆในภูมิภาคอาเซียนและประเทศจีนกว่า 10 ประเทศ แก่ผู้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมระดับอุดมศึกษาของภูมิภาค      นอกจากนี้ผู้แทนมหามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับเกียรติ เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกวางสี ซึ่งมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการแสดงกว่า 20 ชุด ที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าในทางวิชาการและความร่วมมือระหว่างประเทศ โดย ดร.จูกุ้ย หลิน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานการจัดงาน ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาแห่งนี้มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี จากความร่วมมือของโปรแกรมจัดการศึกษาร่วมและแลกเปลี่ยนนักศึกษา ECP ที่จบการศึกษาแล้วกว่า 180 คน และความร่วมมือในการจัดหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและนวัตกรรมการจัดการ ของวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ความร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
19 พฤศจิกายน 2567     |      10
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้หน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารีและร่วมลงนามถวายพระพร
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้หน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พร้อมลงนามถวายพระพรขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรงในเร็ววัน เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนสืบไป ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ถนนกำแพงเพชร 6 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
19 พฤศจิกายน 2567     |      29
Associate Professor Dr. Weerapon Thongma, President of Maejo University, and Dr. Winitra Leelapattana, Associate Dean of the International College, attended in discussions with administrators and executives of National Chung Hsing University and National Chin-Yi University of Technology in Taiwan. This meeting centered around establishing an academic partnership to develop Dual Degree Programs designed to enhance educational opportunities for students.
Associate Professor Dr. Weerapon Thongma, President of Maejo University, and Dr. Winitra Leelapattana, Associate Dean of the International College, attended in discussions with administrators and executives of National Chung Hsing University and National Chin-Yi University of Technology in Taiwan. This meeting centered around establishing an academic partnership to develop Dual Degree Programs designed to enhance educational opportunities for students.The proposed collaboration includes a 2+2 program format for undergraduate degrees, allowing students to spend two years at Maejo University and two years in Taiwan to complete their degrees. At the master’s level, a 1+1 format is being considered, which would similarly enable students to gain international experience and credentials by completing one year at each institution. This partnership aims to foster cross-cultural learning, broaden academic perspectives, and equip students with skills that meet international standards.Additionally, President also attended a meeting with 10 exchange students from the Faculty of Business Administration, Maejo University, who are participating in a three-month exchange program at the College of Management, National Chin-Yi University of Technology. The program allows these students to gain hands-on international experience, expand their academic and cultural perspectives, and develop skills in a global business environment.
14 พฤศจิกายน 2567     |      14
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จเป็นองค์ประธาน ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
     วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567  เวลา 18.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จเป็นองค์ประธาน ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่     พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานถวายผ้าพระกฐินแด่พระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ประจำปี 2567 ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา และสมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ โรงครัว ค่าน้ำ ค่าไฟ และบำรุงวัด โดยมี นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้แทนศาล ทหาร ตำรวจ เหล่ากาชาดจังหวัดฯ ส่วนราชการ และประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ      โอกาสนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงประทานตราตั้งให้แก่คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาวัด คณะที่ปรึกษาวัด และไวยาวัจกร (เพิ่มเติม) จำนวน 6 ราย พร้อมทั้งทรงประทานของที่ระลึกให้แก่ผู้มีกุศลจิตบริจาคทรัพย์ และสนับสนุนการดำเนินงานของวัด      จากนั้นได้ทรงทอดพระเนตรการแสดงในชุด “พญาอุชุนาคราชบูชา ปกปักรักษานครพิงค์เชียงใหม่“ ซึ่งนำแสดงโดยคณะอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่สื่อถึงการถวายความเคารพและบูชาแด่พญานาคผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้พิทักษ์เมือง และผู้คุ้มครองคนในนครพิงค์เชียงใหม่อย่างมั่นคงมาช้านาน ผ่านการแสดงที่ผสมผสานระหว่างการร่ายรำและดนตรีไทยอย่างสง่างาม      โดยพิธีการสำคัญครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่จะได้ร่วมสร้างกุศล เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความศรัทธาต่อบวรพระพุทธศาสนา และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อช่วยกันส่งเสริมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงสถาพรสืบไป      ทั้งนี้ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ในการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานศิลปกรรมท้องถิ่นแบบล้านนา โดยเมื่อครั้งที่ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพความทรุดโทรมของวัดและฝาผนังวิหาร จึงมีพระดำริที่จะบูรณะให้ดีขึ้น ด้วยการตั้งพระทัยว่า ขอนำความรู้ที่ได้ศึกษามาปฏิบัติพระกรณียกิจเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติให้รุ่งเรือง โดยทรงดำเนินงานวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “ พระมหาชนก ” และทรงสร้างพระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต เป็นพระประธานในวิหาร
14 พฤศจิกายน 2567     |      21
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2567 ณ ภัตตาคารเจี่ยท้งเฮง จังหวัดเชียงใหม่
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 17.00 น. ที่ ภัตาคารเจี่ยท่งเฮง สาขาฟ้าฮ่าม   รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประชุมเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่2/2567 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคลอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธาน และโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับในฐานะเจ้าภาพการจัดการประชุมดังกล่าวการจัดประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงนโยบายระดับสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดแนวทางการดำงานร่วมกัน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 12 สถาบัน เข้าร่วมประชุมภาพ: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
13 พฤศจิกายน 2567     |      16
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมงาน The 11th "GEAR - UP Forum, 2024: Advancing Sustainable Agriculture through Science and Technology“ (GEAR-UP 2024) ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงชิง (ไต้หวัน)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมงาน The 11th "GEAR - UP Forum, 2024: Advancing Sustainable Agriculture through Science and Technology“ (GEAR-UP 2024) จัดโดย ศูนย์เกษตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงชิง สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 11 โดยเชิญนักวิชาการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศช มาร่วมพูดคุยในประเด็นด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การเกษตร เกษตรอัจฉริยะ และสัตวแพทยศาสตร์ปศุสัตว์มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงชิง และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีความร่วมมือทางวิชาการมายาวนาน ต่อเนื่องตลอดกว่าสิบปีที่ผ่านมา ในอนาคต มหาวิทยาลัยทั้งสองจะยังคงพัฒนาความร่วมมือในสาขาเทคโนโลยีเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ และสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทรัพยากรวิชาการที่หลากหลายยิ่งขึ้นสำหรับนักศึกษาและการวิจัยของทั้งสองฝ่าย โดยในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ได้รับเกียรติให้เป็นผู้กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรมการประชุมวิชาการ พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายAssociate Professor Dr. Weerapon Thongma, President of Maejo University, along with Dr. Winitra Leelapattana, Associate Dean of the International College, attended “The 11th GEAR-UP Forum, 2024: Advancing Sustainable Agriculture through Science and Technology” (GEAR-UP 2024) organized by the International Agricultural Center and College of Agriculture and Natural Resources, National Chung Hsing University on November 11, 2024. This event, now in its eleventh year, brings together leading scholars from both domestic and international backgrounds to discuss topics on environmental sustainability, agricultural science, smart agriculture, and veterinary livestock.National Chung Hsing University and Maejo University have had a long-standing academic partnership, with continuous collaboration spanning over a decade. In the future, both universities aim to further their cooperation in the fields of agricultural technology, bio-industries, and veterinary sciences, enriching academic resources for students and research on both sides. On this occasion, Associate Professor Dr. Weerapon Thongma was honored to give the opening welcome speech for the conference, sharing insights on enhancing collaboration between the two institution
11 พฤศจิกายน 2567     |      18
โครงการประชุมเสวนาเชิงปฎิบัติการ “การจัดทำแผนปฎิบัติงาน พ.ศ.2568 และแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2568-2572” ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เดินทางมามอบนโยบายการปฏิบัติงาน รับฟังเสียงสะท้อนของการทำงาน ของบุคลากร นักศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองนักศึกษา ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ ผู้ประกอบการร้านค้า พร้อมแนวทางการแก้ปัญหา โครงการประชุมเสวนาเชิงปฎิบัติการ “การจัดทำแผนปฎิบัติงาน พ.ศ.2568 และแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2568-2572”  ณ ห้องประชุมกวางบุษราคัม ชั้น 3 อาคารนำชัย ทนุผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ
7 พฤศจิกายน 2567     |      22
(05.11.2567) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ Nigerians in Diaspora Organization Thailand (NIDO) จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการการดำเนินโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่ประชาชนของสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย
   วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับใหม่ร่วมกับสมาคมชาวไนจีเรียในต่างประเทศแห่งประเทศไทย (NIDO) ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย     มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้; รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี; รองศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ; และบุคลากรวิทยาลัยนานาชาติ ได้ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก NIDO ประเทศไทยและสถานเอกอัครราชทูตไนจีเรีย นำโดย ดร.ลอยด์ นวาฟอร์ ประธานสมาคม NIDO ประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือครั้งใหม่นี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาและทักษะด้านการเกษตรให้แก่ประชาชนแห่งสาธารณรัฐไนจีเรีย
5 พฤศจิกายน 2567     |      35
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
     วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2567รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กล่าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น ประธานในพิธี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดีคณะสำนักต่างๆ ประธานมูลนิธิกล้วยไม้ไทย อดีตผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา     สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  และสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาอันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (OrganicUniversity)  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ  (Eco University) และยังเป็นการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมของคณะผลิตกรรมการเกษตร
4 พฤศจิกายน 2567     |      21
มหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่
การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zeroผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net  Zeroเพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ  ได้แก่ -  เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero”, ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิดGreen Universityการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  - เรื่อง “Climate Changeวิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่Net Zeroโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV)และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดยนายธีรพงศ์  จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง“บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย”โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น  จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์  การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fisheryพร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน  บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง)  ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น  ดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า“ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็นNet Zeroในปี2065ได้” การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
1 พฤศจิกายน 2567     |      43
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน กับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีและต้อนรับ นางสาววราพร ละมูลตรีผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และคณะ ณ ห้องประชุมพวงเสด สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุน ส่งเสริมด้านการจัดการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน สนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความรู้ ทักษะร่วมกันในการฝึกประสบการณ์ภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริง ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ และเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรหลักในการรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพและฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
31 ตุลาคม 2567     |      23
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้   ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้แต่ละรุ่น และนักศึกษา ร่วมรำลึกอธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน
30 ตุลาคม 2567     |      19
ภาคเอกชนสนใจปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ของแม่โจ้ ภายใต้การวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจ
     รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ และเป็นผู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบต่าง ๆ จนได้เป็นปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานตามหลักของกรมวิชาการเกษตร และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ทำให้ภาคเอกชน โดยบริษัท เวิร์ล ทรีส์ แพลนท์ จำกัด ให้ความสนใจสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อต่อยอดทางธุรกิจของทางบริษัทฯ ต่อไป     อนึ่ง ทางบริษัทฯและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการทำบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2566 เพื่อสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์จำนวนมาก โดยจะมีศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิต และจัดส่งให้ตามข้อตกลง ความร่วมมือกับทางบริษัทฯ ซึ่งนับเป็นการนำผลผลิตนวัตกรรม จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป
29 ตุลาคม 2567     |      343
พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานครนายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวถึงการสนับสนุนงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชผัก และความเป็นมาของ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ร่วมกับบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ดำเนินการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ จำนวน 19 ชนิด ที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปปลูกต่อได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้จัดตั้ง บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์เท่านั้น รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์, พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดีผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757ราคาซองละ 20 บาทโปรโมชั่นพิเศษ ตั้งแต่วันนี้จนถึงเดือนธันวาคม 2567 “ซื้อ 5 ซอง แถม 1 ซอง” (สินค้ามีจำนวนจำกัดหรือจนกว่าสินค้าจะหมด)ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนาข่าว : มูลนิธิชัยพัฒนา
25 ตุลาคม 2567     |      25
พิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการแสดงและประกวดผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
วันที่ 24 ตุลาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการแสดงและประกวดผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ด้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้มอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัย ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเชิดชูเกียรติให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัล โดยมีนักวิจัยเข้ารับใบประกาศเกียรติคุณ ทั้งหมดดังนี้รางวัลระดับนานาชาติ จำนวน 7 ผลงาน 12 รางวัล1.รางวัล "JARS Reviewer Recognition (Excellence in Reviewing)" จากผลงาน The Feasibility Study for a Strong Community Development Guideline : A Case Study of Hua Takae Old Market Community. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Vol.21 Issue 1. 2024 (January-June) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา ดวงธิมา สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม2.รางวัล "Best Paper Award" Development of Date Fruit Wine จากผลงาน Development of Date Fruit Wine โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ ตาลดี สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3.รางวัล "Best Presentation Award" จากผลงาน Sensory and Chemical Analysis of Low Fat Date Palm Ice cream โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ หวังเจริญ สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4.ราวัล "Best Presentation Award" จากผลงาน Development of a Low-cost Sensor-based Kit for nalyzingEgg Freshness โดย อาจารย์มุกริน หนูคง สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร5.รางวัล "Best Presentation Award" จากผลงาน A Development of Total Dissolved Solids using Electrocoagulation Technology for Tapioca Starch Industry Water Treatment System โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรววรณ พัชรประกิติ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์6. รางวัล "Silver Medal","CAI Award from China Association of Inventions (CAI)","Special Prize from The First Institute of Researchers and Inventors in I.R. Iran","Special Awards from Dindado Center for Research and Innovation" และ "Special Awards from Association of Polish Inventors and Rationalizers" จากผลงาน Avenue for Refreshment and Immunity “Taste the Revolution” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์7.รางวัล "The First Prize in International Journal on Robotics, Automation and Sciences" จากผลงาน Forecasting PM2.5 Concentrations in Chiang Mai using Machine Learning Models โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา ราชกิจ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์8. รางวัล "Outstanding Reviewer Winner" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด สังกัด คณะวิทยาศาสตร์รางวัลระดับชาติ 1 ผลงาน 1 รางวัล1.รางวัล "Best Paper Award" จากผลงาน การยับยั้งแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชด้วยอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่สังเคราะห์ โดย BACILLUS VELEZENSIS รหัส (AGR-P36) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีกาญจนา คล้ายเรือง สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ผลงานที่ร่วมจัดแสดงและประกวดในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2567" จำนวน 6 ผลงาน1.การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน (ไฟฟ้า ความเย็น และความร้อน) และวัสดุอย่างยั่งยืน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐพร ไชยญาติ สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทน2.นวัตกรรมถ่านชีวภาพดัดแปลงเพื่อการจัดการซากวัสดุเหลือทิ้งจาก การเกษตรสำหรับพัฒนาชุมชนเกษตรแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สังกัด คณะวิทยาศาสตร์3.หยิน-หยาง: ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับพืชผักสวนครัว โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ4.Bio-SynCap ไบโอซินแคป โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ5.การคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่สามารถสกัดไคโตซานจากขยะเปลือกกุ้ง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ6.ชีวนวัตกรรมปุ๋ยจากจุลินทรีย์อัดแท่งร่วมกับฝุ่นข้าวโพดอาหารสัตว์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ
24 ตุลาคม 2567     |      31
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมอบนโยบาย ทิศทางการพัฒนา และแนวทางแผนบริหารมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแมโจ้-ชุมพร ปีงบประมาณ พ.ศ.2567-25671 แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารแม่โจ้ 80 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 พร้อมกับแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 1361/2567)ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอนโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2567-2571) แลกเปลี่ยนและรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากรมองเป้าหมายเดียวกัน บูรณาการองค์ความรู้แต่ละสาขาวิชา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และร่วมกันผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งปฎิบัติงานตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้คือ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับนานาชาติต่อไปพร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พบปะบุคลากร พร้อมเสนอแนวคิดการปฎิบัติงาน กล่าวคือ ให้บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล ใช้กลยุทธิ์ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประชาสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วย “วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต”อย่างไรก็ดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ได้พบปะและให้กำลังใจบุคลากรในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คือ “มีทัศนคติที่ดีในการปฎิบัติงาน ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในองค์กร ตลอดจนมองเป้าหมายข้างหน้าไปด้วยกัน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป”
22 ตุลาคม 2567     |      30
คณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย มุ่งสู่ Net Zero 2065
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา จ.เชียงใหม่การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net Zero เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero” , ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เรื่อง “Climate Change วิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่ Net Zero โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดย นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง “บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย” โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fishery พร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง) ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่นดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็น Net Zero ในปี 2065 ได้”การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
22 ตุลาคม 2567     |      101
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ณ เกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอันดับ 4 ของประเทศ และอันดับ 361 ของโลก จากการจัดอันดับพิพิธภัณฑ์โลก (Museum World Ranking)  พร้อมรับชมชุดการแสดง 2 ชุด โดยนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์  ในชุดการแสดง  "มวยไทย เมืองลุง"  และชุดการแสดง "กริช ลุ่มเลสาบสงขลา"วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 (ทปอ.) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันพิจารณาปัญหาในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามโครงสร้างของ ทปอ. อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ.  ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก  ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย/อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุมฯ และดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมฯ  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมฯ พร้อมทั้งแนะนำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมเปิดการประชุมด้วยชุดการแสดงตระการตา ภายใต้ชุดการแสดง Glocalization "จากรากสู่โลก" โดยนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณภาพ :  มหาวิทยาลัยทักษิณ
21 ตุลาคม 2567     |      48
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน"
     วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 ที่ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รองศาสตราจารย์  ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน" และ รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี กล่าวรายงาน     ทั้งนี้สภามหาวิทยาลัยได้กำหนดทิศทางและเป้าหมายในการพัฒนามหาวิทยาลัยและได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง การกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสภามหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 - 2570) ลงวันที่ 19 กันยายน 2567 โดยทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในส่วนของทิศทางด้านภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ คือ ให้มหาวิทยาลัยได้รับผลประเมินการจัดอันดับ SDGs Impact Ranking ไม่น้อยกว่า 80 คะแนน ภายใน ปี พ.ศ. 2570     มหาวิทยาลัยจึงได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน ทั้ง SDG Impact Ranking Green University และ Healthy University โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนและคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน เพื่อให้การเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินให้บรรลุตามเป้าหมายตามทิศทาง ด้านภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดไว้
17 ตุลาคม 2567     |      57
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมงานวันเฉลิมฉลองครบรอบวันชาติ สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) 113 ปี ณ กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ห้องบอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร. วินิตรา ลีละพัฒนา รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครบรอบ 113 ปี จัดขึ้นโดย สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย โดยมีนายจางจวิ้นฝู ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน
11 ตุลาคม 2567     |      47
ขอแสดงความยินดีกับคณะผู้บริหารใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการ Dean forum มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนี้ 1. ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย รับตำแหน่ง รักษาการแทนรองอธิการบดี 2. ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รับตำแหน่ง รักษาการแทนรองอธิการบดี 3. อ.ดร. แสนวสันต์ ยอดคำ รับตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี 4. ผศ.ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร 5. ผศ.ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว รับตำแหน่ง คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 6. อาจารย์ ดร. โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร รับตำแหน่ง คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม (วาระที่ 2) 7. ผศ.ดร.ชนาพร ขันธบุตร รับตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ Dean Forum ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
10 ตุลาคม 2567     |      46
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567 โดยมี นางอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นประธานการประชุมดังกล่าวโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาแก่รัฐบาลภูฏานภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ระยะ 3 ปี อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งในปี 2567 นี้ ฝ่ายไทยและภูฏานจะร่วมจัดการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย_ภูฏาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือ ทบทวน และติดตามความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและภูฏานในปัจจุบันทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ภูฏานในปี 2567-2570 เพื่อส่งเสริมแโดยละพัฒนาทักษะของบุคลากรภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับปริญญาโท (Full scholarship) จำนวน 15 ทุน และการพัฒนาบุคลากรโดยการจัดฝึกอบรมระยะสั้น 5 หลักสูตร จำนวน 63 ทุน
11 ตุลาคม 2567     |      43
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท อี เอส วิจัยและพัฒนา จำกัด หารือความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนา
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567 (10.30 น.)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร บริษัท อี เอส วิจัยและพัฒนา จำกัด  ในการเข้าร่วมหารือความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาจนโครงการประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งโครงการวิจัยน้ำตาลเพื่อสุขภาพ โครงการวิจัยอาหารสัตว์จากครีมยีสต์ ตลอดจนโครงการอื่นๆ ที่จะได้รับความร่วมมือในอนาคตภารกิจรองอธิการบดี
8 ตุลาคม 2567     |      39
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพ
ในระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี  นางสาวกวิสราแก้ววิทยาลาภ นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจในการบูรณาการหลักการ E (Environment) S (Social) G (Governance) เข้ากับชุมชนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสมาชิกของทั้ง 2 ประเทศ
3 ตุลาคม 2567     |      33