สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University

.

.

                

.

.

.

ข่าวกิจกรรม

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีไหว้ครู พร้อมมอบโล่เชิดชูอาจารย์ บุคลากรดีเด่น ศิษย์เก่าดีเด่น และรางวัลเหรียญเรียนดีแก่นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567
วันพฤหัสบดี ที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี คณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และตัวแทนศิษย์เก่า เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุม อาคารแม่โจ้ 80 ปี     ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้มอบเหรียญเรียนดีประจำปีการศึกษา 2566 แก่นักศึกษา จำนวน 12 คน มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นด้านต่างๆ จำนวน 13 คน มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้มหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แต่ละสาขา จำนวน 5 คน มอบเกียรติบัตรแก่ศิษย์เก่าดีเด่นแต่ละสาขา จำนวน 5 คน และมอบเกียรติบัตรแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัล CCE Children & Youth เกณฑ์มาตรฐานระดับ “ทอง” ในการประเมินโครงการเครือข่ายเด็กและเยาวชน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จำนวน 17 คนรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี มอบทุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่ได้รับทุน ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 13 คนดร.ขุนศรี ทองย้อย มอบรางวัลขวัญใจเพื่อนร่วมงานแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 3 คน     พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้พบปะและให้โอวาทแก่นักศึกษา ใจความว่า “ความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ นับว่าเป็นการสร้างสิริมงคลที่ดีแก่ชีวิต เราทุกคนเกิดมาล้วนมีครู ไม่ว่าจะเป็นครูคนแรกที่ให้ชีวิต อบรม เลี้ยงดู หรือครูที่ให้วิชาความรู้ ทุกความทุ่มเทเสียสละของครู เพื่อให้ศิษย์ทุกคนประสบความสำเร็จ เป็นคนดี คนเก่ง มีความรับผิดชอบ เรียนรู้จากการอ่าน การฟัง การมองเห็น และนำมาต่อยอดฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีพลังปัญญาที่เข้มแข็ง ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ตลอดจนให้ข้อคิดที่ว่า “อุ้มไม่หนัก รักไม่ลวง ห่วงไม่เลิก เบิกไม่หมด โกรธไม่นาน” นักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
6 กันยายน 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในโอกาสเข้าศึกษาดูงาน
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 เวลา 8.30 น. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ให้การต้อนรับ อธิการบดี รองอธิการบดี และคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 10 ท่าน ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงาน นำเสนอการดำเนินงาน ย่านนวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยในเวลา 11.00 น. ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์ทดสอบ วิจัยและพัฒนากัญชงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับโดย นายเสกสรร สงจันทึก รักษาการหัวหน้างานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืชและสัตว์ นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ นักวิจัยปฏิบัติการ และทีมงาน ณ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ข่าว : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ( เครือข่าย MJU RADIO )
2 กันยายน 2567
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในงาน Power of One (Power of You) โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ บรรยายในหัวข้อ SDG กับความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรประเทศไทย ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ชั้น3 กรุงเทพมหานคร รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในงาน Power of One (Power of You) โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ บรรยายในหัวข้อ SDG กับความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรประเทศไทยซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย (SGI) ร่วมกับครุศาสตร์ จุฬาฯ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการศึกษาสร้างคุณค่า (VCE-RU-CU) จุฬาฯ และศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดงาน “Power of One (Power of You) : โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ” ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2567“Power of One (Power of You) : โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ” เน้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคมผ่านแนวทางที่ยั่งยืน โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาแบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม งานนี้มุ่งสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจในการบรรลุ SDGs ผ่านกิจกรรมหลากหลาย เช่น นิทรรศการ เวทีเสวนา มินิคอนเสิร์ต และเวิร์กช็อป ที่ส่งเสริมความรู้และการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในสังคม
30 สิงหาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมงาน "นิทรรศการการศึกษาไต้หวันและเส้นทางสู่อาชีพ ประจำปี 2567 ” หรือ "Taiwan Higher Education Fair & Job Counseling 2024"
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 ที่ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมงาน "นิทรรศการการศึกษาไต้หวันและเส้นทางสู่อาชีพ ประจำปี 2567 ” หรือ "Taiwan Higher Education Fair & Job Counseling 2024" ได้รับเกียรติกล่าวต้อนรับ โดย Political Deputy Minister of Education (Professor Dr. Ping-Cheng Yeh) กล่าวเปิดโดย Mr. Chang Chun-Fu Representative, Taipei Economic and Cultural Office in Thailand) กล่าวรายงานโดย Professor Dr.Chin-Lung Chang (President of National Pingtung University of Science and Technology) ซึ่งภายในงานปมีการออกบูธจากมหาวิทยาลัยทั้ง 27 แห่งของไต้หวัน เพื่อรับข้อมูลการสมัคร ศึกษาต่อ และทุนการศึกษา อีกทั้งยังได้พบกับบูธจากบริษัทต่าง ๆ ของไต้หวันเพื่อรับโอกาสในการเข้าทำงาน
30 สิงหาคม 2567
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี) กับ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 ที่ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น5 สำนักงานมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ , รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร และคณาจารย์ประจำคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี) กับ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด โดยมี คุณสลิลรัตน์ พงษ์พานิช ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือในด้านวิชาการและงานวิจัยด้านงานโคนม ซึ่งรวมไปถึง การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ การผลิต การสร้างฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตัวอย่าง การพัฒนานักส่งเสริมศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และความร่วมมืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม
30 สิงหาคม 2567

ข่าวประกาศ

คำสั่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี / การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติงานได้ / การแต่งตั้งผู้ช่วยอธิการบดี และการมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี กำกับการดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฏิบัติการแทนอธิการบดี รวมจำนวน 10 ฉบับ
16/7/2567 15:41:35
คำสั่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี / การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี,ผู้ช่วยอธิการบดี กรณีไม่อาจปฏิบัติงานได้ / การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี / การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี และการมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ รักษาการแทนรองอธิการบดี และรักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี กำกับการดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฏิบัติการแทนอธิการบดี รวมจำนวน 14 ฉบับ
24/6/2567 19:37:17
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
24/6/2567 19:38:14