สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมงานวันเฉลิมฉลองครบรอบวันชาติ สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) 113 ปี ณ กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ห้องบอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร. วินิตรา ลีละพัฒนา รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครบรอบ 113 ปี จัดขึ้นโดย สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย โดยมีนายจางจวิ้นฝู ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน
11 ตุลาคม 2567     |      13
ขอแสดงความยินดีกับคณะผู้บริหารใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการ Dean forum มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนี้ 1. ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย รับตำแหน่ง รักษาการแทนรองอธิการบดี 2. ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รับตำแหน่ง รักษาการแทนรองอธิการบดี 3. อ.ดร. แสนวสันต์ ยอดคำ รับตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี 4. ผศ.ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร 5. ผศ.ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว รับตำแหน่ง คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 6. อาจารย์ ดร. โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร รับตำแหน่ง คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม (วาระที่ 2) 7. ผศ.ดร.ชนาพร ขันธบุตร รับตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ Dean Forum ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
10 ตุลาคม 2567     |      12
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567 โดยมี นางอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นประธานการประชุมดังกล่าวโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาแก่รัฐบาลภูฏานภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ระยะ 3 ปี อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งในปี 2567 นี้ ฝ่ายไทยและภูฏานจะร่วมจัดการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย_ภูฏาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือ ทบทวน และติดตามความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและภูฏานในปัจจุบันทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ภูฏานในปี 2567-2570 เพื่อส่งเสริมแโดยละพัฒนาทักษะของบุคลากรภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับปริญญาโท (Full scholarship) จำนวน 15 ทุน และการพัฒนาบุคลากรโดยการจัดฝึกอบรมระยะสั้น 5 หลักสูตร จำนวน 63 ทุน
11 ตุลาคม 2567     |      13
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท อี เอส วิจัยและพัฒนา จำกัด หารือความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนา
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567 (10.30 น.)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร บริษัท อี เอส วิจัยและพัฒนา จำกัด  ในการเข้าร่วมหารือความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาจนโครงการประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งโครงการวิจัยน้ำตาลเพื่อสุขภาพ โครงการวิจัยอาหารสัตว์จากครีมยีสต์ ตลอดจนโครงการอื่นๆ ที่จะได้รับความร่วมมือในอนาคตภารกิจรองอธิการบดี
8 ตุลาคม 2567     |      19
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพ
ในระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี  นางสาวกวิสราแก้ววิทยาลาภ นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจในการบูรณาการหลักการ E (Environment) S (Social) G (Governance) เข้ากับชุมชนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสมาชิกของทั้ง 2 ประเทศ
3 ตุลาคม 2567     |      20
วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.แม่โจ้ จัด ประชุมวิชาการนานาชาติ i-RESEAT2024 ด้านพลังงานหมุนเวียน สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านพลังงานหมุนเวียน สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 (The 6th International Conference on Renewable Energy, Sustainable Environmental and Agricultural and Artificial Intelligence Technologies: i-RESEAT 2024) พร้อมทั้งให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การปูทางสู่อนาคตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์: มหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมสีเขียวในระดับอุดมศึกษาด้วยพื้นฐานเกษตรกรรม” (Paving the way to a net-zero future: Green university and environment in agriculture higher education) ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่การประชุมวิชาการนานาชาติ i-RESEAT 2024 วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพหลักจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2567 โดยมีเจ้าภาพร่วมหลากหลายมหาวิทยาลัยจากหลายประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ประเทศไทย), Kaohsiung Medical University (ไต้หวัน), University of Stavanger (นอร์เวย์), Vellore Institute of Technology (อินเดีย) และมหาวิทยาลัย/สถาบันพันธมิตรอื่นๆ ซึ่งถือเป็นเวทีระดับนานาชาติสำหรับการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ และผลงงานวิจัยในขอบเขตแนวคิด ทฤษฎี การทดลอง และอุตสาหกรรมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม นวัตกรรมอาหารและการเกษตร และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการระดับนานาชาติสำหรับนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยมุ่งเน้นการนำไปสู่ “Go-Green, Go-Eco, Go-Smart Agri-Tech และ Go-BCG” ซึ่งมีผู้สนใจส่งบทความวิชาการเข้าร่วมนำเสนอในที่ประชุมมากกว่า 70 บทความ บทความวิชาการที่ถูกนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ จะได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับสูง หรือรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) ต่อไป
27 กันยายน 2567     |      61
ทั้งหมด 29 หน้า