สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมจัดพิธีเปิดฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Universal Design: UDC) และกิจกรรมเสวนาทางวิชาการเรื่องสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมอาคารที่เป็นมิตรกับทุกคน
วันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เกียรติเป็นประธานร่วมตัดริบบิ้นในพิธีเปิดฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทุกคน (Universal Design Center : UDC) พร้อมทั้งกล่าวเปิดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง สภาพแวดล้อมและนวัตกรรมอาคารที่เป็นมิตรกับทุกคน และได้เดินชมฐานเรียนรู้ฯ พร้อมด้วย คุณประวิทย์ ตันฑ์ทวี กรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ศิริชัย หงษ์วิทยากร ที่ปรึกษาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม ผู้ช่วยคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทุกคนภูมิภาคเหนือ ชมรม global campus แม่โจ้ ชมรมทูตอารยสถาปัตย์เชียงใหม่ ตัวแทนจากเทศบาลเมืองแม่โจ้ เทศบาลตำบลหนองแหย่ง เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลตำบลแม่แฝก เทศบาลตำบลสันนาเม็ง และเทศบาลตำบลสันป่าเปา เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้อง Co-working อาคารปฏิบัติการภูมิทัศน์ ทั้งนี้ คณะได้ดำเนินกิจกรรมเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ “สถานการณ์สังคมผู้สูงวัยและการตื่นตัวเพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับทุกคน” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิชา สุขกาย หัวหน้าศูนย์การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (UDC CRRU) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช่อเพรชร พานระลึก หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยนเรศวร (UDC NU) และคุณณิชกานต์ พิทยาภรณ์ ตัวแทนศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (UDC CMJU) ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาฯ และกิจกรรมเสวนาวิชาการในหัวข้อ “สถานการณ์สังคมสูงวัยและการตื่นตัวเพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับทุกคน โดยได้รับเกียรติจาก คุณพนินาท รัตนยุวัน ตัวแทนจากบริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด คุณธีราภรณ์ จรดล ตัวแทนจากบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด และคุณอมรรัตน์ ตรีปรียะชญา ตัวแทนจากบริษัท เวลคราฟท์ โปรดัคส์ จำกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ระวี กองบุญเทียม รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาฯ ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 มิถุนายน 2567     |      151
รองศาสตราจารย์วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน
วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2567 เวลา 17.59 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ รองศาสตราจารย์วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน ซึ่งเป็นรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายผลผลิตของโครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาลที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก่อตั้งครบ 90 ปี ในวันที่ 7 มิถุนายน 2567
8 มิถุนายน 2567     |      181
7 มิถุนายนของทุกปี วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ : On June 7th, Anniversary of the Foundation Day of the Northern Agricultural Teachers Training School
ก่อร่าง ก้าวย่าง เติบโต ยิ่งใหญ่ 90 ปีก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้” ตามรอยคุณพระช่วงฯ บิดาเกษตรแม่โจ้  14 สิงหาคม 2476 คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ ยืมม้าจากนายอำเภอสันทราย บุกเข้าดงแม่โจ้ พร้อมคนนำทางมุ่งหน้าต่อไปตามทางเกวียนใช้เวลาชั่วโมงกว่าถึงดงไม้และป่าโปร่งที่เรียกว่า “ดงแม่โจ้” มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ มีหมู่บ้านเล็กๆอยู่ชายป่าประมาณ 10 หลังคาเรือน ถึงแม้ผืนดินแห่งนี้จะมีสภาพเป็นดินเลว  แต่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่สามารถปรับแก้ไขสภาพดินให้ดีขึ้นได้ ท่านจึงสร้างสถานีกสิกรรมภาคพายัพขึ้นบนผืนดินแห่งนี้ต้นเดือนเมษายน 2477 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมต.กระทรวงธรรมการ(สมัยนั้น) มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือขึ้นที่ ดงแม่โจ้ ติดพื้นที่ด้านทิศใต้ของสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ แต่งตั้งให้ พระช่วงเกษตรศิลปการ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่17 พฤษภาคม 2477 นักเรียนรุ่นแรกเดินทางมารายงานตัวครบทั้ง 46 คน(ภายหลังมาอีก 2 คน รวมเป็น 48 คน)7 มิถุนายน 2477 ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก โดย คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ บิดาเกษตรแม่โจ้ ผู้บุกเบิกและก่อตั้ง แม่โจ้ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้นในวันนี้ ได้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาร่วมให้โอวาท ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ถูกจารึกเป็นประวัติศาสตร์อันสำคัญของแม่โจ้ ถือเป็นจุดกำเนิดแม่โจ้และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน90 ปีแม่โจ้ จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ได้ก่อร่าง ก้าวย่าง  ฝ่าฟัน ต่อสู้ และ เจริญเติบโต สั่งสมประสบการณ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการเกษตรของไทย  สู่…มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงการเป็นมหาวิทยาลัย กลุ่มที่ 2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ซึ่งขับเคลื่อนตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. 2566 – 2570 โดยยังคงมุ่งพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งานเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน7 มิถุนายน 2567 แม่โจ้ครบ 90 ปี มหาวิทยาลัยจัดให้มีพิธีทำบุญวันคล้ายสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2567 โดยจะมีกิจกรรมดังนี้เวลา 07.09 น. พิธีบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค นำโดยนายกสภามหาวิทยาลัย นายกสมาคมศิษย์เก่า อธิการบดีพร้อมคณะผู้บริหาร ณ ประติมากรรมพระพิรุณทรงนาคเวลา 08.00 น. พิธีทำบุญทางศาสนาเจริญพระพุทธมนต์สืบชะตาฉลองครบรอบ 90 ปีแม่โจ้ ณ อาคารแผ่พืชน์เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์คุณพระ-ช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ และได้รับเกียรติจาก ทายาทพระช่วงเกษตรศิลปการ เข้าร่วมพิธีขอเชิญชาวแม่โจ้พร้อมใจกัน เข้าร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนา  โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ  ประจำปี 2567 ในวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป มาร่วมกันแสดงพลังสามัคคี ร่วมรำลึกถึงเส้นทางการก้าวย่างของแม่โจ้ พร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างภาคภูมิ“แม่โจ้: มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต”
6 มิถุนายน 2567     |      117
สำนักงานมหาวิทยาลัย ม.แม่โจ้ จัดกิจกรรม Big Cleaning Day และรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567
วันพุธที่ 5 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่โถงอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Big Cleaning Day และรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีถือว่าเป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก” เพื่อตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่มีการเกื้อหนุนซึ่งกันละกัน เป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันทุกระบบ สร้างเข้าใจถึงผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมสำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดกิจกรรมการส่งเสริม รณรงค์ลดขยะ กิจกรรมการมีส่วนร่วมของบุคลากร ตอบคำถามรับรางวัลสร้างการรับรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น กิจกรรม Big cleaning day โดยรอบสำนักงาน
5 มิถุนายน 2567     |      90
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน "อ่างแก้วเกมส์ 2024" กีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร ตัวแทนบุคลากร เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40 "อ่างแก้วเกมส์ 2024"โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40 "อ่างแก้วเกมส์ 2024" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสนามการแข่งขันต่างๆ ร่วมฉลองวาระครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำหรับพิธีเปิดการแข่งขัน "อ่างแก้วเกมส์ 2024" จัดขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน นายสิทธิศักดิ์ อภิกุลชัยสุทธิ์ นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ รองศาสตราจารย์วัชรินทร์ กาสลัก ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (กกมท.) กล่าวรายงานความเป็นมาการจัดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40 "อ่างแก้วเกมส์ 2024" กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการแข่งขันในพิธีเปิด "อ่างแก้วเกมส์" ครั้งนี้ ได้มีพิธีเชิญธงกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ซึ่งมี อาจารย์ภัทร ยันตรกร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักกีฬาอาวุโส นำกล่าวคำปฏิญาณตน อาจารย์มนตรี ตุ้มทรัพย์ อาจารย์พิเศษคณะศึกษาศาสตร์ ผู้แทนกรรมการผู้ตัดสิน นำกล่าวคำปฏิญาณตน จากนั้นเป็นพิธีจุดไฟคบเพลิงของการแข่งขัน "อ่างแก้วเกมส์ 2024" โดยมีนายศุภณัฐ คุณยศยิ่ง กองพัฒนานักศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินวัฒน์ ไข่เกตุ คณะศึกษาศาสตร์ เป็นผู้จุดคบเพลิง เมื่อไฟคบเพลิงได้สว่างไสวขึ้นเรียบร้อยแล้ว มีการแสดงพิธีเปิดการแข่งขันฯ ที่อลังการ ตื่นตาตื่นใจ เพื่อสร้างความประทับใจและความทรงจำที่ดี ต้อนรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาครั้งสำคัญนี้"อ่างแก้วเกมส์ 2024" มีทัพนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ 68 สถาบันทั่วประเทศมาเข้าร่วมกว่า 8,000 คน ชิงชัย 429 เหรียญทอง ใน 21 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย บาสเกตบอล ฟุตบอล ฟุตซอล กรีฑา ว่ายน้ำ วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ ตะกร้อลอดห่วง เทนนิส วอลเลย์บอลชายหาด เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน เปตอง กอล์ฟ ลีลาศ แอโรบิก สนุกเกอร์-บิลเลียด จักรยาน E-sports ครอสเวิร์ด และหมากกระดาน
1 มิถุนายน 2567     |      236
นักวิจัย SEARCA หารือและเก็บข้อมูลด้าน การทำฟาร์มคาร์บอนเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางธรรมชาติเพื่อเกษตรกรรมที่ยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้การต้อนรับ Ms.Bernice Anne D. de Torres, Program Specialist of the Research and Thought Leadership Department (RTLD) and Ms.Mayla Viray-Blaskie , consultant จาก Southeast Asian Regional Center for Graduate Study and Research in Agriculture (SEARCA) เพื่อหารือและเก็บข้อมูลด้าน การทำฟาร์มคาร์บอนเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางธรรมชาติเพื่อเกษตรกรรมที่ยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Carbon Farming as a Nature-based Solution towards Sustainable Agriculture in Southeast Asia (CFNSEA) ณ ห้องรับรอง สำนักงานเลขานุการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
31 พฤษภาคม 2567     |      63
ทั้งหมด 32 หน้า