สำนักงานเลขานุการอธิการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
President of Maejo University
TikTok จับมือ มหาวิทยาัลยแม่โจ้ ดึง 5 มหาวิทยาลัยเครือข่ายทุกภูมิภาค พัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล”สร้าง Smart People
วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้ประสานงานหลัก จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง TikTok Technologies Ltd. กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีก 5 สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายครอบคลุมทุกภูมิภาค ในการร่วมมือพัฒนาวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “Smart Citizenship & Digital Resilience” ติดอาวุธทางปัญญาให้เยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล และสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยมี รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา, รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. เป็นผู้แทนลงนามของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ TikTok ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 โดยได้ร่วมผลิตเนื้อหาเชิงรณรงค์ผ่านแฮชแท็ก เช่น #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด #พื้นที่ปลอดภัยเพื่อทุกการสร้างสรรค์ และล่าสุด #คนไทยรู้ทัน ที่มีผู้เข้าชมกว่า 3.4 พันล้านวิว โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันข่าวลวงและภัยออนไลน์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และในปีนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายผลความร่วมมือเข้าสู่การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวิชา “พลเมืองดิจิทัล” ซึ่งกำหนดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี ดังนั้น นักศึกษาในทุกศาสตร์ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ และในปีนี้มหาวิทยาลัยได้ประสานเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัยมาร่วมมือพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชมงคล ร่วมกับ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน โดยเฉพาะ TikTok ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนี้ ” คุณชนิดา คล้ายพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok Technologies Ltd. กล่าวว่า “เราภูมิใจมากที่ได้ร่วมมือกับ 6 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศครอบคลุมทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ นอกจากนั้น TikTok ยังมีแนวทางในการ upskill และ reskill ให้ครอบคลุมประชากรในทุกกลุ่มวัย ทุกภูมิภาค สำหรับ TikTok แล้วการสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย คือภารกิจระยะยาว ที่เราทำด้วยความตั้งใจจริง เราเชื่อว่า สังคมที่ปลอดภัย เท่าทัน และสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนเข้าถึงความรู้” นอกจากนี้ รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในปัจจุบัน ต้องเตรียมความพร้อมและส่งเสริมหรือพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่จำเป็นในอนาคต ดังนั้นความร่วมมือในวันนี้เป็นหนึ่งในหัวใจของการเตรียมบัณฑิตไทยให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ทาง ทปอ. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทุกกลุ่มกับภาคเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับทักษะของผู้เรียน” สำหรับการลงนามในครั้งนี้ มีระยะเวลา 3 ปี โดยวิชา “พลเมืองดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” จะเปิดการเรียนการสอนพร้อมกัน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป
7 พฤษภาคม 2568     |      7
Oklahoma State University USA. เยือน ม.แม่โจ้ หารือทำ MOU แลกเปลี่ยน นศ.
วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองอธิการบดี ผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ให้การต้อนรับ Professor Dr. Randy Kluver รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และคณบดี School of Global Studies and Partnerships และ Professor Dr. Jon Pedersen คณบดี College of Education and Human Sciences จาก Oklahoma State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโอกาสที่มาเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการหารือความมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา ระหว่างสองมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ได้ไปเยี่ยมชมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม และหารือร่วมกับผู้บริหารคณะเพื่อสานต่อกิจกรรมตามความร่วมมือกันในอนาคตต่อไปทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ Oklahoma State University ได้มีความสัมพันธ์อันดีมายาวนาน โดยมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกันตั้งแต่ปี 2548 และดำเนินกิจกรรมตามความร่วมมือทางวิชาการ ในการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษามาอย่างต่อเนื่องOn May 2, 2025, Associate Professor Dr. Weerapon Thongma, the President of Maejo University, along with the university's administration, welcomed Professor Dr. Randy Kluver, Associate Provost and Deanos the School of Global Studies and Partnerships, along with Professor Dr. Jon Pedersen, Dean of the College of Education and Human Sciences, Oklahoma State University, United State of America. They visited Maejo University to discuss academic collaboration and continue activities related to cooperation.
7 พฤษภาคม 2568     |      5
รับมอบเงินสนับสนุนทุนการศึกษา “ "คุณพรชัย โมราสุข" ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 51 จำนวน 50,000 บาท
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับและกล่าวขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฃ.พาวิน มะโนชัย อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 51 พร้อมด้วยคุณสมพร นันทชัย อ.นิรัช ก้อนใจ คุณจุไร สวาทใจ คุณรุ่งทิพย์ ธรรมขันธ์ และคุณกิตติพล สุวรรณ ที่ได้เป็นตัวแทนมอบเงินสนับสนุนทุนการศึกษา "คุณพรชัย โมราสุข" ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 51 จำนวน 50,000 บาท เพื่อนำมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อไป ณ ห้องรับรองอินทนิล ชั้น 2 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 พฤษภาคม 2568     |      28
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2568 และการประชุมสามัญ สออ.ประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2568 และการประชุมสามัญ สออ.ประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเปิดการประชุม ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นสำหรับการประชุมครั้งนี้มีการรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามโครงสร้างการบริหารงาน ทปอ. พร้อมหารือแนวทางการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2568
21 เมษายน 2568     |      97
02/04/2568 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี
ในวันพุธที่ 2 เมษายน 2568 รองศาสตาจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน พร้อมด้วย รองศาสตาจารย์ ดร.วีระพล ทองมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้   ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ในงานเฉลิมฉลอง 20ปี คณะศิลปศาสตร์ “ศาสตร์และศิลป์ แห่งปัญญา” ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ซึ่งในช่วงเช้าได้จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 21 รูป และพิธีทางศาสนา โดยคณะฯ ได้เรียนเชิญคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกคณะฯ เข้าร่วม พร้อมทั้งได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาบรรยายพิเศษในเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์” และในช่วงถัดมาได้เข้าร่วมเปิดนิทรรศการองค์ความรู้ “20 ปี ศาสตร์และศิลป์ แห่งปัญญา“ เพื่อเชิญชูเกียรติ อาจารย์ดีเด่น คณะศิลปศาสตร์
3 เมษายน 2568     |      68
พิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 จัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมมือกับคณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 พร้อมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาของงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งการประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์, คณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีการนำเสนอผลงานใน 2 รูปแบบหลัก ได้แก่การนำเสนอผ่าน "โปสเตอร์" ที่แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหมวดหมู่ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม, เคมี และ นวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม, คณิตศาสตร์ และสถิติ, วัสดุศาสตร์ และฟิสิกส์ประยุกต์, วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ, และ เกษตรศาสตร์, พืชศาสตร์, การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนการนำเสนอผ่าน "การบรรยาย" ที่ครอบคลุม 7 กลุ่มหมวดหมู่ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม, เคมี และนวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม, คณิตศาสตร์ และสถิติ, วัสดุศาสตร์และฟิสิกส์ประยุกต์, วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ, เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, และ เกษตรศาสตร์, พืชศาสตร์, การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนนอกจากนี้ ภายในงานยังมีการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายวงการ ได้แก่ดร.ก้องเทวัญ โชติเทวัญ รองประธานกรรมการบริหารสายงานเศรษฐกิจ บริษัท สหฟาร์ม จำกัดรศ.ดร.ศักดิ์กษิต ระมิงค์วงศ์ อาจารย์สังกัดภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติการจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน
27 มีนาคม 2568     |      141
ทั้งหมด 2 หน้า